ดวงอาทิตย์ พระอาทิตย์ แสงอาทิตย์ส่องสว่างมาจากดวงอาทิตย์ คือลูกไฟขนาดมหึมามีขนาด 1.392x10^6 กิโลเมตร พลังงานของดวงอาทิตย์ได้มาจากปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ก๊าซไฮโดรเจนรวมตัวเป็น ฮีเลียมและปลดปล่อยพลังงาน) ที่แกนกลาง(core) ในเวลา 1 วินาที ดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนเนื้อสารของมันประมาณ 610 เมกกะตัน เป็นฮีเลียมประมาณ 606 เมกกะตันและเนื้อสาร 4 เมกกะตันจะสลายตัวไปในเวลาอีก 5000 ล้านปี
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ดวงใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะของเรา มีอายุประมาณ 4500 ล้านปี อยู่ห่างจากโลกประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางมายังโลกเพียง 8.3 นาที พลังงานมหาศาลของดวงอาทิตย์มาจากการเปลี่ยนก๊าซไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมที่ อุณหภูมิประมาณ 15 ล้านเคลวิน ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่มากกว่าโลกของเรา109 เท่าและมีมวลมากกว่าประมาณ 333,434 เท่า
กาลิเลโอ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเอง และจากการศึกษาของนักดาราศาสตร์ต่อมา พบว่า การหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ในบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะมีความร้อนมากกว่า ที่ขั้วเหนือและขั้วใต้
ดังนั้นจึงเห็นดวงอาทิตย์มีรูปร่างเป็นทรงรีรูปไข่ บริเวณผิวของดวงอาทิตย์จะมีความสว่างสามารถมองเห็นได้ เราเรียกบริเวณโฟโตสเฟียร์ (Photosphere) เป็นชั้นที่มีธาตุที่พบทั้งหมดแต่จะไม่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ง ซึ่งอาจจะรวมกันเป็นกลุ่มอนุภาคของเหลว
ชั้นนี้เป็นชั้นแผ่พลังงานของดวงอาทิตย์สู่อวกาศเป็นชั้นบางๆ แต่ค่อนข้างทึบแสง ที่บริเวณส่วนบนสุด ถัดออกมาประมาณ 19,200 กิโลเมตร จะเป็นชั้นโครโมสเฟียร์ (Chromosphere) เป็นชั้นค่อนข้างโปร่งแสง อุณหภูมิของชั้นนี้จะเพิ่มขึ้นตามระยะทางที่ห่างออกไป ดังนั้นชั้นบนสุดจะเป็นบริเวณที่มีปรากฏการณ์รุนแรงมาก ส่วนประกอบชั้นนอกสุด เรียกว่า โคโรนา (Corona) คือ ส่วนที่เป็นก๊าซที่ส่งแสงสว่างหุ้มอยู่รอบๆ ดวงอาทิตย์ มีลักษณะปรากฏเป็นแสงเรือง มีรัศมีสีนวลสุกใส เห็นได้ช่วงที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง เป็นชั้นที่มีอุณหภูมิสูงเพราะเกิดจากการระเหยของก๊าซออกไปอย่างต่อเนื่อง และทำให้เกิดอุณหภูมิประจุไฟฟ้า เรียกว่า ลมสุริยะ (Solar wind) แพร่กระจายออกมาลักษณะพื้นผิวของดวงอาทิตย์ จะเห็นภาพปรากฏที่เรียกว่า จุดดำบนดวงอาทิตย์ (Sunsports) เป็นบริเวณสีคล้ำบนดวงอาทิตย์ในชั้นโฟโตสเฟียร์ โดยมีส่วนกลางดำคล้ำ เรียกว่า เงามืด ส่วนบริเวณรอบๆมีสีจางกว่า เรียก เงาสลัว
พลังงาน ที่เกิดจากดวงอาทิตย์นั้นเป็นพลังงานนิวเคลียร์ที่เรียกว่า "พลังงานนิวเคลียร์ฟิวชัน" ซึ่งเป็นพลังงานที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุไฮโดรเจน (H) สองตัวแล้วกลายเป็นฮีเลียม (He) และจะมีมวลบางส่วนหายไปกลายเป็นพลังงานตามสมการ E=mc^2 ของอัลเบิร์ด ไอน์สไตน์ ในปัจจุบันเราพบว่า มวลของดวงอาทิตย์กำลังลดลงครับ เนื่องจากมวลถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานนั่นเอง บริเวณภายในแกนกลางของดวงอาทิตย์คาดกันว่าน่าจะมีอุณหภูมิประมาณ 15,000,000 องศาเซลเซียส
ลักษณะนี้ยืนยันว่าดวงอาทิตย์มิใช่ของแข็ง แต่เป็นกลุ่มก๊าซที่แผ่รังสีออกมาได้ไม่เท่ากัน

ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง : 1,390,000 ก.ม. มีมวลก๊าซทั้งสิ้น : 1.989 x 1030 ก.ก.
อุณหภูมิสูงสุดระดับ : 5800 เคลวิน ที่พื้นผิว
และใจกลาง
แกน ของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิสูงถึง 15.6 ล้านเคลวิน
และมีความกดดัน 250 พันล้าน หน่วยบรรยากาศ
แก๊สที่แกนกลางถูกอัดตัวให้มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำถึง 150 เท่า
พลังงานของดวง อาทิตย์ ผลิตโดยปฏิกิริยา นิวเคลียร์ฟิวชั่น ทุก ๆ หนึ่งวินาที ดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนไฮโดรเจน 700,000,000 ตัน ให้กลายเป็นฮีเลียม 695,000,000 ตัน และพลังงานในรูปของรังสีแกมม่าอีกจำนวน 5,000,000 ตัน พุ่งตรงมายังพื้นผิว จากนั้นพลังงานถูกดูดกลืนเข้าไปและเปล่งออกอีก ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงเมื่อถึงพื้นผิว กลายเป็นแสงที่เรามองเห็นได้; ณ ข่วง 20% สุดท้ายก่อนที่จะถึงพื้นผิว พลังงานส่วนใหญ่ม้วนตัวกลับ ( convection ) มากกว่าที่จะแผ่รังสีออก
ดวง อาทิตย์ เป็นเทหวัตถุ ที่ใหญ่ที่สุด ในระบบสุริยะ คิดเป็นมวลมากกว่า 99.8% ของมวลทั้งระบบ (ที่เหลือเกือบทั้งหมดเป็นเป็ดาวพฤหัสบดี )ดวงอาทิตย์ มีชื่อเรียกหลายชื่อในเทพนิยาย : กรีกเรียกว่า เฮลลิเอส โรมันเรียกว่า ซอล ในปัจจุบันดวงอาทิตย์ประกอบ ด้วยไฮโดรเจน 75% และ ฮีเลียม 25% นับ โดยมวล (ไฮโดรเจน 92.1% และฮีเลียม 7.8% นับโดยจำนวนอะตอม) ที่เหลือจำนวน 0.1% เป็น "โลหะ" สัดส่วนเหล่านี้เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ โดยดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนไฮโดรเจนในแกนของมันให้กลายเป็นฮีเลียม ชั้นนอกของดวงอาทิตย์มีการเคลื่อนที่แบบ differential rotation กล่าวคือ ณ บริเวณ เส้นศูนย์สูตร หมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบใช้ เวลา 25.4 วัน แต่บริเวณขั้ว หมุนหนึ่งรอบใช้เวลาถึง 36 วัน พฤติกรรมเช่นนี้แสดงว่าดวงอาทิตย์มิได้เป็นของแข็ง (solid body) เฉกเข่นโลก แต่คล้ายกับดาวเคราะห์แก๊ส ลักษณะการหมุนเช่นนี้เกิดขึ้นในแนวลึกลงไปด้วย ยกเว้นตรงแกนของดวงอาทิตย์ หมุนรอบตัวในลักษณะแบบของแข็ง
....พื้น ผิวของดวงอาทิตย์เรียกว่า ชั้นโฟโตสเฟียร์ มีอุณหภมิประมาณ 5,800 เคลวิน; จุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) เป็นย่านที่อุณหภูมิต่ำเพียง 3,800 เคลวิน (มันดูมืดเมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณรอบ ๆ) จุดบนดวงอาทิตย์อาจมีขนาดใหญ่ถึง 50,000 ก.ม. มันเกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่สลับซับซ้อน และยังไม่เข้าใจดีนัก ว่าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์อย่างไร
....เหนือ ขึ้นมาจากชั้นโฟโตสเฟียร์ มีชั้นเล็ก ๆ เรียกว่า โครโมสเฟียร์ ชั้นที่อยู่เหนือโครโมสเฟียร์ เราเรียกว่า โคโรน่า มันแผ่ออกไปในอวกาศหลายล้านกิโลเมตร แต่จะมองเห็นได้เฉพาะเวลาที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเท่านั้น โคโคน่ามีอุณหภูมิสูงมากกว่า 1,000,000 เคลวิน
....สนาม แม่เหล็กของดวงอาทิตย์มีความเข้มและซับซ้อนมาก เขต แมกเนโตสเฟียร์ แผ่ขยายออกไปไกลกว่า ดาวพลูโต นอกเหนือจากความร้อนและแสง ดวงอาทิตย์แพร่อนุภาคความหนาแน่นต่ำ (ส่วนมากเป็นอิเล็กตรอนและโปรตอน) ซึ่งรู้จักกันในนามของลมสุริยะ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 450 ก.ม./วินาที ลมสุริยะและอนุภาคซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า ถูกพ่นออกโดย solar flares สามารถรบกวนสายไฟฟ้าแรงสูง คลื่นวิทยุะ และทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงเหนือแสงใต้ที่งดงาม
....ดวง อาทิตย์มีอายุประมาณ 4.5 ล้านปี นับตั้งแต่กำเนิดมามันได้เผาผลาญไฮโดรเจนในแกนของมันไปประมาณครึ่งหนึ่ง
มันยังคงแผ่รังสีอย่างสงบต่อไปอีกประมาณ 5 ล้านปี ความสว่างจะมากขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อถึงเวลานั้น
และเมื่อมันเผาไหม้ก๊าซไฮโดรเจนหมดลง ขนาดของดวงอาทิตย์จะใหญ่โตมากขึ้นจนขยายตัวมาถึงโลกได้
ดวงอาทิตย์ ที่ได้สร้างความฉงนให้กับบรรดานักวิทยาศาสตร์เป็นเวลาช้านานแล้ว ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2481 นักวิทยาศาสตร์ต่างก็คิดกันว่าดวงอาทิตย์ประกอบด้วยถ่านหิน (หรือสารที่คล้ายคลึงกัน) ที่กำลังลุกไหม้ การลุกไหม้ของถ่านหินดังกล่าวเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานความร้อนในดวงอาทิตย์ นั่นเอง ในทำนองเดียวกับการลุกไหม้ที่เกิดขึ้นบนโลก แต่พอนักวิทยาศาสตร์ทราบขนาดมวลของดวงอาทิตย์ เขาก็สามารถคำนวณได้ว่า ถ้าดวงอาทิตย์ประกอบด้วยถ่านหินดังกล่าวจริง ถ่านหินขนาดมวลของดวงอาทิตย์ก็จะเผาไหม้หมดภายในเวลา 200 หรือ 300 ปีเท่านั้นเอง ผลของการคำนวณนี้จึงขัดแย้งกับความเป็นจริงที่ว่า ดวงอาทิตย์ได้เผาไหม้มานานกว่าเวลาดังกล่าวอย่างมากมาย อย่างไรก็ตาม ขบวนการการเกิดพลังงานในดวงอาทิตย์ก็ยังคงเป็นปริศนาอยู่ ตราบจนกระทั่งนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบขบวนการทางนิวเคลียร์ รวมทั้งเรื่องรางของอัตราเร็ซของปฏิกิริยาที่ให้พลังงานนิวเคลียร์ออกมา ความมืดมนดังกล่าวจึงกระจ่างขึ้น
เนื่องจากขบวนการการเกิดพลังงานของดวงอาทิตย์ ต้องมีการสูญเสียมวลบางส่วนไป จึงทำให้มวลของดวงอาทิตย์ลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดวาระสุดท้ายของดวงอาทิตย์ก็ต้องมาถึง อย่างไรก็ตาม จากอัตราการใช้ไฮโดรเจนในปัจจุบันของดวงอาทิตย์ นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถคำนวณออกมาได้ว่า กว่าที่ดวงอาทิตย์จะใช้มวลของมันหมดไป ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ก็ต้องกินเวลานานถึง 1,000 พันล้านปี ดังนั้นดวงอาทิตย์ของเราจึงยังให้ความร้อน และแสงสว่างไปอีกนานแสนนาน
ขบวนการฟิวชัน นอกจากจะเป็นขบวนการการเกิดพลังงานบนดวงอาทิตย์แล้ว ก็ยังเป็นขบวนการเกิดพลังงานของดาวฤกษ์ต่าง ๆ ด้วย โดยขบวนการฟิวชันที่เกิดขึ้นบนดาวฤกษ์อาจจะเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของขบวนการฟิวชันบนดาวฤกษ์แต่ละดวงนั้น ส่วนช่วงเวลาที่ดาวฤกษ์แต่ละดวงใช้มวลของมันจนหมดหรือที่เรียกว่าช่วงชีวิต ทั้งหมดของดาวฤกษ์แต่ละดวง ขึ้นอยู่กับขนาดตอนเริ่มต้นและชนิดของขบวนการฟิวชันของดาวฤกษ์นั้น ๆ
ขบวนการฟิวชันในดวงอาทิตย์ในดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์ คล้ายคลึงกับขบวนการฟิวชันที่เกิดขึ้นในระเบิดไฮโดรเจน จะมีความแตกต่างกันบ้างก็ตรงอัตราเร็วของการเกิดฟิวชัน สำหรับดาวฤกษ์ การเกิดฟิวชันกว่าจะสำเร็จได้ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อยที่สุดประมาณ 1,000 ล้านปี ส่วนการเกิดฟิวชันของระเบิดไฮโดรเจนรวดเร็วมากเพียงในเวลาประมาณ 1 ในล้านของวินาทีเท่านั้น